1. ดำเนินงานกิจการสภาเทศบาลโดยการเข้าร่วมประชุมสภาเทศบาล ตามกำหนดสมัยประชุมประจำปี
(สมันสามัญ 4 สมัย ตามสภากำหนด ,วิสามัญ ตามความจำเป็น )
2. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการตราเทศบัญญัติ โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย ดังนี้
- เมื่อผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
- เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติหรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยเทศบัญญัติจะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้
ไม่ให้เกินหนึ่งพันบาท
3. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการตราเทศบัญญัติบงประมาณรายจ่ายประจำปี ,งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
4. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการตราเทศบัญญัติต่างๆที่ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของสภาเทศบาล
5. พิจารณาให้ความเห็นชอบ/อนุมัติโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี/เพิ่มเติม
6. ตั้งกระทู้ถามเพื่อสอบถามผู้บริหารท้องถิ่นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือนโยบายอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของผู้บริหาร
7. เสนอญัตติเกี่ยวกับกิจการของสภาท้องถิ่นหรือญัตติร่างข้อบัญญัติ เพื่อให้สภาเทศบาลพิจารณามีมติ
8. เป็นคณะกรรมการหรืคณะอนุกรรมการสภาเทศบาลตามที่สภามีมติ
9. นำปัญหาความต้องการ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนไปประชุมปรึกษาหารือในสภาเทศบาล
*ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาเทศบาลต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาเทศบาลว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งจะซื่อสัตย์สุจริตและปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (มาตรา 17)
*สมาชิกสภาเทศบาลย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนในเขตเทศบาลนั้น และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ
ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใด ๆ (มาตรา 18)
*สมาชิกสภาเทศบาลต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาล
นั้นหรือที่เทศบาลนั้นจะกระทำ (มาตรา 18 ทวิ) |